การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

หน่วยประสาทศัลยศาสตร์สามารถรับฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้ปีละ 3 ตำแหน่ง โดยเป็นตำแหน่งแพทย์ใช้ทุนปีละ 1 ตำแหน่ง และแพทย์ประจำบ้าน 2 ตำแหน่ง การฝึกอบรมใช้เวลา 5 ปี (ไม่รวมปีที่เป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะในกรณีเป็นแพทย์ใช้ทุน) โดยมีรายละเอียดการฝึกอบรมดังนี้

การหมุนเวียนปฏิบัติงาน

หลักสูตรการฝึกอบรมของหน่วย ฯ อิงตามหลักสูตรของวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย 2557 โดยแพทย์ประจำบ้านที่เข้าศึกษาในปี 1 ตั้งแต่ 2557 จะต้องหมุนเวียนฝึกปฏิบัติงาน ดังนี้

ชั้นปีที่ 1
ศัลยศาสตร์ทั่วไป หรือศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ4 เดือน
วิสัญญีวิทยาและการรักษาผู้ป่วยวิกฤต3 เดือน
ประสาทศัลยศาสตร์6 เดือน
ชั้นปีที่ 2 – 6
ประสาทวิทยา อย่างน้อย2 เดือน
รังสีวิทยา ประสาทรังสีวิทยา และรังสีรักษา อย่างน้อย
(ต้องผ่าน intervention radiology อย่างน้อย 1 เดือน)
3 เดือน
ประสาทพยาธิวิทยา อย่างน้อย1 เดือน
วิชาเลือก (ภายใต้ความเห็นชอบของสถาบันฝึกอบรมที่สังกัดอยู่6 เดือน

การประชุมวิชาการ

มีการประชุมวิชาการทุกสัปดาห์ ซึ่งรวมถึง new case admission, topic review, journal club, MM conference และประชุมวิชาการระหว่างหน่วย/ภาควิชา ฯ ได้แก่ neuroradiology conference, neuropatho conference, multidisciplinary trauma round และการประชุมอื่น ๆ ตามโอกาส

ผลงานทางวิชาการ

แพทย์ประจำบ้านต้องมีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยเสนอหัวข้อโครงการวิจัย (Research Proposal) เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ ๓ และทำการวิจัยเสร็จสิ้นและนำเสนอ และ / หรือได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือจุลสารและเป็นผลงานที่ผ่านการประเมิน และรับรองโดยคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ สาขาประสาทศัลยศาสตร์

การประเมินผล

หน่วย ฯ มีการประเมินผลโดยมีการให้คแนน จากอาจารย์ในหน่วยประสาทศัลยศาสตร์และอาจารย์ในหน่วยที่หมุนเวียนปฏิบัติงานทุกเดือน โดยใช้หลักเกณฑ์ของภาควิชาศัลยศาสตร์ ฯ และจะนำคะแนนทั้งหมดมาประเมินเมื่อมีการปฏิบัติงานครบ 1 ปี แพทย์ประจำบ้านต้องมีคะแนนประเมินไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะเลื่อนขึ้นไปยังชั้นปีที่สูงขึ้นได้

แบบอุทธรณ์แพทย์ประจำบ้าน

แบบอุทธรณ์ 2019 (pdf)